แบงก์แห่ปล่อยกู้สินเชื่อสีเขียว ครึ่งปี 67 ยอดทะลัก 24 ล้านล้านบาท กว่า 115% ของจีดีพี สวนทางความต้องการระดมทุนตราสารหนี้สีเขียว 10 เดือนแผ่ว มูลค่าเหลือเพียง 6.8 พันล้านบาท ลดลงกว่าครึ่งเมื่อเทียบปีก่อน เหตุเอกชนเลื่อน ชะลอแผนการลงทุน
ความต้องการแหล่งเงินหรือระดมทุนการเงินสีเขียวเพิ่มสูงขึ้นในตลาดโลก ทั้งจากแรงกดดันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากขึ้น (Climate change) จากความร่วมมือกันในเวทีโลก (COP26) ที่เร่งแก้ปัญหาวิกฤตโลกร้อน
นโยบายกรีนดีล (European green deal)ของสหภาพยุโรปที่มีการออกกฎระเบียบผลิตภัณฑ์เพื่อควบคุมและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยกำหนดกลไกการปรับคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism: CBAM)และการควบคุมปัญหาคาร์บอนแฝงในสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ
แรงกดดันกดดันด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาล(ESG) กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ผู้ประกอบการทุกอุตสาหกรรมต้องปรับตัวตามกติกาสากลและท้องถิ่นเริ่มจากวางกลยุทธ์ในการพัฒนาและปรับตัวในเชิงรุก เช่น เมืองไทยประกาศเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี2593 และความเป็นกลางทางคาร์บอน์ในปี 2608
นายรุ่งโรจน์ เสกสรรค์วิริยะ ผู้อำนวยการ Investment Product Selection and Partnership ธนาคาร ไทยพาณิชย์ ให้ความเห็นกับ“ฐานเศรษฐกิจ”ว่า แนวโน้มความต้องการระดมทุนผ่านตราสารหนี้สีเขียว (Green Bond) หรือ กรีนบอนด์ ในประเทศไทยคาดว่า จะเติบโตที่มากขึ้น จากแรงผลักดันจากนโยบายของภาครัฐที่มุ่งเน้นการระดมทุนแบบยั่งยืน
"สัญญาณที่สำคัญ มาจากการประกาศแผนพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งมีการกำหนดเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมอย่างชัดเจน"
ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้ที่ทางภาครัฐจะให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีและการสนับสนุนเพิ่มเติม เช่น การลดหย่อนภาษีสำหรับต้นทุนการออกตราสาร หรือ การสนับสนุนค่าใช้จ่ายบางส่วนในกระบวนการรับรองการออก Green Bond เพื่อทำให้บริษัทเอกชนมีแรงจูงใจในการออกตราสารหนี้สีเขียวมากขึ้น
นอกจากนั้น ในมุมของบริษัท การระดมทุนผ่าน Green Bond มีส่วนช่วยในการบริหารจัดการภาระหนี้ได้ดียิ่งขึ้น เพราะมีการวัดผลเทียบกับแผนการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของบริษัท ขณะที่ความต้องการของนักลงทุนในตรา สารหนี้สีเขียวก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน
“ปัจจุบันมีการจัดตั้งกองทุน ThaiESG ที่มีการลงทุนใน Green Bond หรือ หุ้นบริษัทที่มีนโยบายลงทุนในโครงกาเพื่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งกองทุน ThaiESG นี้ได้ให้สิทธิลดหย่อนทางภาษีแก่นักลงทุน ถือเป็นปัจจัยบวกที่ส่งผลให้ตลาดตราสารหนี้สีเขียวเติบโตขึ้น และเพิ่มความต้องการระดมทุนตราสารหนี้สีเขียวให้เพิ่มขึ้นได้อย่างยั่งยืนในระยะข้างหน้า”
สำหรับการออกหุ้นกู้ที่มีลักษณะเป็น Green Bond ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2567 มีจำนวน 6.8 พันล้านบาท ลดลงกว่าครึ่งเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ที่มีมูลค่า 1.8 หมื่นล้านบาท เนื่องจากจำนวนโครงการที่สอดคล้องกับแนวทางสีเขียว มีการเลื่อนหรือชะลอการดำเนินการ
อีกทั้งบริษัทที่ออก Green Bond ส่วนใหญ่เป็นบริษัทในกลุ่มพลังงาน ซึ่งการออกหุ้นกู้ลักษณะนี้ขึ้นอยู่กับแผนการลงทุน (CAPEX) ของแต่ละบริษัทโดยตรง เมื่อแผนลงทุนลดลง จำนวน Green Bond ในตลาดจึงปรับลดตามไปด้วย
นายไพโรจน์ ชื่นครุฑ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านกลยุทธ์และวางแผนธุรกิจองค์กร ธนาคาร กรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน)กล่าวว่า ครึ่งปีที่ผ่านมา ภาคธนาคารมีการปล่อยสินเชื่อให้ทั้งภาคธุรกิจและบุคคลทั่วไปรวมประมาณ 24 ล้านล้านบาท ซึ่งสูงกว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ(จีดีพี) 115% สะท้อนความสำคัญของภาคธุรกิจการเงินที่นำเงินทุนไปสู่ภาคอุตสาหกรรมทั้งหมด
“ด้วยหน้าที่เราเป็นสถาบันการเงินที่ระดมทุนและส่งต่อให้ภาคธุรกิจนำเงินทุนไปลงทุน โดยกำหนด Portfolio เป็น Net Zero ในปี 2593"
ดังนั้น จึงเป็นความท้าทายของแบงก์กรุงศรีที่จะช่วยลูกค้าที่มีพอร์ตกับเรา ซึ่งจะค่อยๆลดการดำเนินการหรือกิจกรรมที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมจาก Red เป็น Brown/ Green เพราะกระบวนการไปสู่เป้าหมายไม่สามารถทำให้เสร็จได้ภายใน 1-3 ปี ซึ่งการทำสิ่งเหล่านี้จะเป็นความท้าทายที่มีต้นทุนสำหรับกรุงศรีและลูกค้าด้วย
ทั้งนี้ ต้องพิจารณาระยะเวลาให้ค่อยๆปรับตัว โดยไม่รอให้ระเบียบของการค้าโลกเป็นตัวกำหนดการทำธุรกิจ/การค้าขายแต่ต้องทำในวันนี้ จะค่อยๆลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากสีแดงไปสู่สีเขียวให้เร็วที่สุด
หลายคู่ค้าดำเนินธุรกิจส่งออก หรือหลายบริษัทเป็นซัพพลายเชนกับบริษัทต่างประเทศ ซึ่งหากคู่ค้าหรือลูกค้าปรับตัวได้เร็วตั้งแต่วันนี้จะมีโอกาสที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับคู่แข่ง
ขณะเดียวกันเมืองไทย ก็มีคณะทำงาน Thailand Taxonomy (ประกอบด้วย ผู้แทนจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการเงิน) จัดทำ Thailand Taxonomy ออกมาใช้ตามความสมัครใจ อีกทั้งรัฐบาลจะมีการออกกฎหมายใหม่ภายใน 1-2 ปีข้างหน้า
สำหรับธนาคารกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ MUFG ที่เป็นกลุ่มธุรกิจการเงินอันดับ 5ของโลกก็มีส่วนผลักดันทั้งความยั่งยืนภาคการเงิน รวมถึงสังคมและสิ่งแวดล้อม
โดยภาพรวมเฉพาะในส่วนของธนาคารกรุงศรีอยุธยาเองกระบวนการดำเนินงานขององค์กรและผลิตภัณฑ์ขององค์กรมีการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)ประมาณ 52,000ตันกิโลคาร์บอนและธนาคารกรุงศรีฯได้กำหนดเป้าหมายที่จะช่วยลด CO2 ดังกล่าวให้เป็นศูนย์ภายในปี 2030
นายไพโรจน์กล่าวว่า เมื่อวัด Carbon footprint หรือปริมาณการปล่อย CO2 ที่ออกมาสู่สภาพแวดล้อม จากกิจกรรมขององค์กรหรือผลิตภัณฑ์และบริการ ธนาคารจึงมีหน้าที่ 3 แนวทางเพื่อลด CO2 คือ
ลดการใช้พลังงานลง เนื่องจากการปล่อย CO2 ของกรุงศรีอยุธยา ส่วนใหญ่เป็นเรื่องพลังงาน ไม่ว่าไฟฟ้าหรือการรถยนต์ โดยที่ผ่านมากรุงศรีฯได้นำเทคโนโลยี่มาเปลี่ยนชิลเลอร์ในออฟฟิศ/สำนักงานใหญ่ซึ่งช่วงลดการใช้พลังงานได้ประมาณ 15-20% จากปกติ
การลดขยะให้เป็นศูนย์ ( Zero Waste) โดยธนาคารกรุงศรีฯมุ่งนำเศษขยะจากโรงอาหารเพื่อใช้เป็นปุ๋ย
การซื้อหรือสนับสนุนให้เกิดการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน/หมุนเวียน ( Renewable Energy) คาดว่าในอนาคต Renewable Energy จะมีมากขึ้นในเมืองไทย
อย่างไรก็ตาม นโยบายเรื่องความยั่งยืนนั้น กรุงศรีไม่สามารถทำได้คนเดียว จึงได้สร้าง กรุงศรี ESG Sustainable คือ หาคู่ค้าหรือพาร์ทเนอร์มาช่วยตอบโจทย์ให้ลูกค้าในการเปลี่ยนผ่าน เพราะจุดเริ่มต้นที่ลูกค้าจะเปลี่ยนผ่านลูกค้าก็ต้องรู้ตัวเองก่อนว่า Carbon Footprint/ปริมาณ CO2ที่ปล่อยมีเท่าไร และจะมีแผนเก็บ Carbon footprint อย่างไร
เบื้องต้นกรุงศรีฯ จะเริ่มทำจาก 2 อุตสาหกรรมก่อนคือ พลังงาน( POWER Industry) กับอุตสาหกรรมการขนส่ง( Transportation Industry) ซึ่งเป้าหมายของกรุงศรีฯภายในปีหน้าทั้ง 2 อุตสาหกรรมน่าจะแล้วเสร็จ หลังจากภายในสิ้นปีนี้ ต้องนำเรื่องความเสี่ยงของสภาพอากาศ( Climate Risk Stress test
อ่านต่อได้ที่ : https://www.thansettakij.com/climatecenter/sustainability/616032